nzsystemtechnology
nzsystemtechnology
  • หน้าหลัก
  • สินค้า
    • Notifier
    • Nohmi
  • บริการ
  • บทความ
    • Smoke Detector
    • Heat Detector
  • Contact
  • เพิ่มเติม
    • หน้าหลัก
    • สินค้า
      • Notifier
      • Nohmi
    • บริการ
    • บทความ
      • Smoke Detector
      • Heat Detector
    • Contact
  • ลงชื่อเข้าใช้งาน
  • สร้างบัญชี

  • บัญชีของฉัน
  • ลงชื่อเข้าใช้ในฐานะ:

  • filler@godaddy.com


  • บัญชีของฉัน
  • ลงชื่อออก

ลงชื่อเข้าใช้ในฐานะ:

filler@godaddy.com

  • หน้าหลัก
  • สินค้า
    • Notifier
    • Nohmi
  • บริการ
  • บทความ
    • Smoke Detector
    • Heat Detector
  • Contact

บัญชี


  • บัญชีของฉัน
  • ลงชื่อออก


  • ลงชื่อเข้าใช้งาน
  • บัญชีของฉัน
ตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

ตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน Preventive Maintenance (PM Fire Alarm)

การตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ คือกิจกรรมที่ทำเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดความเสียหายของอุปกรณ์ หรือการทำงานที่ผิดพลาดในระบบ เช่น 

  • อุปกรณ์ตรวจจับ (Smoke Detector , Heat Detector) ไม่ทำงาน เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นจะไม่สามารถตรวจจับได้
  • อุปกรณ์แจ้งเตือน (Alarm Bell , Strobe Light , Horn) ไม่ทำงาน เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นจะไม่สามารถแจ้งเตือนผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้นได้
  • ตู้ควบคุม (Fire Alarm Control Panel) เสียไม่สามารถทำงานได้ 


ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่นการเสื่อมสภาพของการใช้งานอุปกรณ์ สภาพแวดล้อม

ไปจนถึงสายสัญญาณที่มีปัญหา อาจโดนหนูกัดสาย หรือมีการ Renovate พื้นที่นั้นแต่ไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์กลับที่เดิม หรืออาจทำความเสียหายกับสายสัญญาณในระหว่าง Renovate

โดยการดำเนินการตรวจสอบและบำรุงรักษาตามกำหนดเวลา งานและขั้นตอนต่างๆ จะมุ่งป้องกันความล้มเหลวของระบบหรือการชำรุดของอุปกรณ์ ซึ่งจะทำให้สามารถรักษาสภาพดีของอุปกรณ์และลดความเสียหายหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้


เป้าหมายหลักของการตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้คือการระบุและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่จะส่งผลให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน


ประเด็นสำคัญของการ PM Fire Alarm

การตรวจสอบตามกำหนดเวลา (การตรวจสอบประจำปี) :  ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในระบบว่ายังทำงานปกติหรือไม่

  • ตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Fire Alarm Control Panel
  • ตู้แผนผังแสดงจุดเกิดเหตุเพลิงไหม้ Graphic Annunciator
  • อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ Manual Pull Station
  • อุปกรณ์ตรวจจับควัน Smoke Detector อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน Heat Detector

เมื่อตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในระบบเสร็จสิ้นแล้ว ก็ทำรายงานสรุปผลการตรวจสอบ ปัญหาที่เจอของระบบ และวิธีแก้ไข เพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป


ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ กับ Preventive Maintenance (PM)

การตรวจระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ประจำปีนั้น มีความสำคัญอย่างมาก

ยกตัวอย่างว่า ถ้าไม่มีการ PM Fire Alarm แล้วเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น อุปกรณ์ต่างๆ ตัวจับควัน จับความร้อน

เกิดไม่ทำงาน เนื่องจากสาเหตุต่างๆ เช่น อุปกรณ์เสียหาย สายสัญญาณขาด หรือ ตู้คอนโทรลไม่ทำงาน 

ทำให้ไม่มีการแจ้งเตือนคนที่อยู่อาศัยในอาคารทราบว่ามีเหตุเพลิงไหม้ มีผลทำให้ผู้คนอาจหนีไม่ทัน 

ดับเพลิงไม่ทัน เพลิงก็จะลุกไหม้ ลุกลาม จนเป็นอันตรายต่อชีวิต และทรัพย์สินได้

ดังนั้นควรมีการ PM Fire Alarm อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง


ตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (PM Fire Alarm)

แล้ว Preventive Maintenance (PM) คืออะไรหละ

Preventive Maintenance (PM) หมายถึง แผนงานการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
ซึ่งมุ่งเป้าไปถึงการป้องกัน ไม่ให้เครื่องจักร หรือ ชิ้นส่วน อุปกรณ์ เสียหาย ระหว่างการทำงาน
การปรับแต่ง ให้เครื่องจักร ทำงานตามคำแนะนำของคู่มือ รวมทั้งการบำรุง และเปลี่ยนชิ้นส่วน อะไหล่

ตามกำหนดเวลา เช่น การเปลี่ยนลูกปืน ถ่ายน้ำมันเครื่อง อัดจารบี การหล่อลื่นโดยถูกวิธี
การบำรุงรักษาเชิงป้องกันนั้น รวมตั้งแต่ การทำความสะอาด ชิ้นส่วน อุปกรณ์ เป็นระยะ ๆ
การตรวจสอบค่าต่างๆ เช่น ค่าแรงดัน ค่าอุณหภูมิ ระยะความชิด ความห่างที่เหมาะสม
การดูแลเปลี่ยนชิ้นส่วน อุปกรณ์ หรือวงจรที่จะครบอายุการใช้งานทุกระยะด้วย

ประโยชน์ของการ PM Fire Alarm

  • สามารถยืดอายุการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในระบบได้
  • ป้องกันการชำรุดเสียหายระหว่างการใช้งาน
  • ระบบทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • สามารถลดอุบัติเหตุ หรือ อันตราย เนื่องจากเหตุเพลิงไหม้ลงได้
  • ทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว เพราะมีกำหนดเวลา  มีข้อมูล และ วิธีการทำงานพร้อมปฏิบัติงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และ บำรุงรักษา

 

  • ขั้นตอนที่ 1
    ตรวจสอบ ระบบการทำงานของตู้ควบคุม ก่อนทำการบำรุงรักษา โดยตรวจดูว่าตู้ควบคุมยังทำงานปกติ หรือไม่ อุปกรณ์ภายในตู้ควบคุม ยังอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หรือไม่ หากพบว่า มีอุปกรณ์เสียหาย หรือ เสื่อมสภาพ ผู้รับจ้างจะแจ้งให้ทางผู้ว่าจ้างทราบ เพื่อทำการแก้ไข ต่อไป และเมื่อได้ทำการแก้ไขตู้ควบคุม ให้ทำงานได้ตามปกติ ผู้รับจ้างจะเริ่มทำความสะอาดอุปกรณ์
     
  • ขั้นตอนที่ 2
    ตรวจสอบ ระบบสายไฟ และสายสัญญาณ ที่เดินไปยังอุปกรณ์ในระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ว่ายังอยู่ในสภาพดี สามารถใช้งานได้ หากพบว่าสายไฟ และ สายสัญญาณดังกล่าวชำรุดไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ผู้รับจ้าง จะแจ้งให้ผู้ว่าจ้างทราบ เพื่อให้ทางผู้ว่าจ้างแก้ไขต่อไป และ เมื่อได้ทำการแก้ไขให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ผู้รับจ้างจะเริ่มทำความสะอาดอุปกรณ์
     
  • ขั้นตอนที่ 3
    ตรวจสอบอุปกรณ์ของระบบ พร้อมทำความสะอาดในแต่ละจุด
  • 3.1 อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector , Project Beam Type Smoke Detector)
  • 3.2 อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)
  • 3.3 อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Pull Station)
  • 3.4 อุปกรณ์กระดิ่งแจ้งเหตุ (Alarm Bell)
  • 3.5 อุปกรณ์แสดงจุดเกิดเหตุ (Graphic Annunciator)
     
  • ขั้นตอนที่ 4
    เมื่อทำการตรวจสอบ พร้อมทั้งได้ทำความสะอาด ตู้ควบคุม และ อุปกรณ์ของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้เรียบร้อยแล้ว จะทำการทดสอบทั้งระบบอีกครั้ง โดยทำการทดสอบทีละโซน ว่าแต่ละโซนยังทำงานได้ตามปกติหรือไม่
     
  • ขั้นตอนที่ 5
    นำส่งรายงาน การตรวจสอบอุปกรณ์ใน ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ แก่ผู้ว่าจ้าง หลังจากทำการบำรุงรักษาเรียบร้อยแล้ว ภายใน 15 วัน

ลิขสิทธิ์ ©2023 Nc System Technology - สงวนสิทธิ์ทุกประการ


ขับเคลื่อนโดย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้ในการวิเคราะห์การเข้าชมเว็บไซต์และปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดีขึ้น เมื่อยอมรับการใช้งานคุกกี้ของเรา เราจะรวบรวมข้อมูลของคุณกับข้อมูลผู้ใช้อื่นๆ ทั้งหมด

ยอมรับ